“ไหม”บนเส้นทางฝ่าวิกฤติโควิดฟื้นเศรษฐกิจชาติ สร้างงาน-รายได้ชุมชน หนุนภาคเกษตรไทย

“ผลิตภัณฑ์เส้นไหม” และ “การส่งเสริมการเลี้ยงไหม” เป็นหนึ่งในแนวคิดของการพลิกฟื้นวิถีชุมชน และวิถีเกษตรกรรมไทย จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด -19 ซึ่งเป็นปัจจัยส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ และวิถีชีวิตของคนไทย ชุมชน และภาคเกษตรไทย กลายมาเป็น ภารกิจ พันธกิจสำคัญของ “กรมหม่อนไหม” ในการที่จะเข้ามามีบทบาทขับเคลื่อนแนวทางการ “สร้างเศรษฐกิจฐานราก ให้กับทั้งชุมชน และภาคการเกษตรไทย” โดยมี “ไหม” ที่จะกลับมาเป็นพืชเศรษฐกิจ ที่จะช่วยสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับระบบเศรษฐกิจ
นายสันติ  กลึงกลางดอน  รองอธิบดีกรมหม่อนไหมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึง เส้นทางของ “ไหม” และการดำเนินการตามโครงการฯ ว่า “เรื่องของไหม และผลิตภัณฑ์จากไหม อยู่คู่กับสังคมไทย มาตั้งแต่สมัยโบราณ จากดินแดนแถบสุวรรณภูมิ เป็นเกษตรพื้นบ้าน เป็นสินค้าพื้นถิ่น โดยเริ่มต้นจากในภาคอีสานของไทย  ซึ่งหากจะมองจากประวัติศาสตร์ของไทยไหมก็มีมาตั้งแต่ช่วงสุโขทัย และมีการค้าขายกับต่างประเทศ นับเป็นพืชเศรษฐกิจเป็นภูมิปัญญาที่อยู่คู่กับประวัติศาสตร์ภาคการเกษตรและชุมชนของไทยมายาวนาน  
“งานหม่อนไหมดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นบทบาทของกรมหม่อนไหมซึ่งได้จัดตั้งเป็นสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติฯ เมื่อปี 2548 และต่อเนื่องมาถึงปี 2552 ได้ยกระดับจากสถาบันฯ มาเป็นกรมหม่อนไหม  และดำเนินงานมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีภารกิจหลัก คือการดูแลรับผิดชอบงานหม่อนไหมทั้งระบบครบวงจร สนองงานในพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง รวมทั้งงานจากมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถเริ่มต้นจากการส่งเสริมชุมชน เกษตรกร เรื่องของพันธุ์ การพัฒนาการเลี้ยงไหม  และคัดเส้นไหมเพื่อให้มูลนิธีฯ นำไปแปรรูป  และกำหนดมาตรฐานต่างๆ ของผลิตภัณฑ์จากไหม ให้เป็นมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล โดยกำหนดเป็นตรานกยูงพระราชทานสีต่างๆ เพื่อแยกจำแนกคุณภาพในแต่ละระดับ จนมาถึงโครงการสนับสนุนต่างๆ รวมทั้งโครงการส่งเสริมงานศิลปาชีพเชิงรุก” นายสันติ กล่าว
จากพระราชดำริ และพระราชเสาวณีย์ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงเล็งเห็นถึงความสำคัญของอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและให้คงอยู่กับประเทศไทยสืบไป มาสู่การก่อตั้งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ในปี2519 เพื่อช่วยเหลือราษฎรที่ยากไร้ในชนบท ส่งเสริมอาชีพ เพื่อให้มีรายได้เพิ่มขึ้น โดยได้ดำเนินงานนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาจวบจนปัจจุบัน ทั้งยังได้สนับสนุนให้สมาชิกเลี้ยงไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้านมานานกว่า 30 ปี และได้เผยแพร่ผลิตภัณฑ์ผ้าไหมไทยไปทั่วโลก กรมหม่อนไหม ได้เล็งเห็นถึงพระอัจฉริยภาพของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวงที่ทรงมีสายพระเนตรที่ยาวไกล ทำให้เกษตรกรมีอาชีพที่มั่นคง มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้อย่างปกติสุข จึงได้จัดทำโครงการเพื่อสนองงานของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง และพระราชวงศ์ทุกพระองค์ โดยดำเนินงานโครงการเชิงรุกนำร่องในพื้นที่โครงการศิลปาชีพฯ 6 แห่ง เพื่อมุ่งเน้นสืบสานภูมิปัญญา อนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมของไทยให้กลับมามีบทบาท มีความสำคัญต่อเกษตรกร ชุมชน จังหวัด และเป็นต้นแบบให้เกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงหรือผู้สนใจเข้าไปศึกษาเรียนรู้ เพื่อสืบสานงานพระราชดำริให้คงอยู่สืบไป
รองอธิบดีกรมหม่อนไหม กล่าวต่อไปว่า โครงการส่งเสริมงานศิลปาชีพเชิงรุก กำหนดในพื้นที่ 6 แห่ง ดำเนินการขับเคลื่อนโดยศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ (ศมม.) และหน่วยส่งเสริมหม่อนไหมในพื้นที่ประกอบด้วย ศูนย์ศิลปาชีพหม่อนไหมบ้านห้วยเดื่อ อ.เมือง จ. แม่ฮ่องสอน (ศมม.เชียงใหม่)กิจกรรมส่งเสริมการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมแบบครบวงจรศูนย์ศิลปาชีพ บ้านกุดนาขาม อ.เจริญศิลป์ จ. สกลนคร (ศมม.สกลนคร)จัดทำจุดเรียนรู้การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมครบวงจรจัดทำจุดเรียนรู้เรื่องการผลิตครามโครงการส่งเสริมศิลปาชีพทุ่งกะมัง อ.หนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ (ศมม.ชัยภูมิ)กิจกรรมการผลิตผ้าไหมตรานกยูงพระราชทานลายเอกลักษณ์หมี่คั่นขอนารีย้อมสีธรรมชาติศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพอีสานใต้ จังหวัดสุรินทร์ (ศมม.สุรินทร์)กิจกรรมศูนย์เรียนรู้การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมแบบครบวงจรโครงการศิลปาชีพศึกษาพัฒนาไหมไทยพื้นบ้าน ไหมดาหลา และแมลงทับ จ.สระแก้ว (หน่วยส่งเสริมหม่อนไหมสระแก้ว)จัดทำจุดเรียนรู้การเลี้ยงไหมพันธุ์ไทยพื้นบ้านจุดเรียนรู้การเลี้ยงไหมดาหลาจุดเรียนรู้การเลี้ยงแมลงทับแปลงเรียนรู้การเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงและศูนย์ศิลปาชีพบ้านเนินธัมมัง ต.แม่เจ้าอยู่หัว อ.เชียรใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช (หน่วยส่งเสริมหม่อนไหมตรัง)กิจกรรมส่งเสริมการทอผ้าประจำถิ่น
ทั้งนี้ ในช่วงของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด ก็ยังมีส่วนจิตอาสา ซึ่งเป็นโครงการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เข้าไปให้ความช่วยเหลือ ซึ่งเป็นแนวทางมาจากการพัฒนาต่อยอดแนวทาง “เศรษฐกิจพอเพียง” ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตรในโครงการฟาร์มตัวอย่าง ดำเนินการโดยศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน (ศอญ.) ได้จัดทำโครงการฟาร์มตัวอย่างต้านภัย Covid – 19
โดยมอบหมายให้จิตอาสา 904 ดำเนินการสำรวจโครงการฟาร์มตัวอย่างตามแนวพระราชดำริเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนรายได้ของประชาชนกำหนดเป้าหมาย จำนวน 30 แห่งทั่วประเทศ  โดยกรมหม่อนไหมได้จัดทำโครงการสนับสนุนกิจกรรมด้านหม่อนไหมภายใต้โครงการฟาร์มตัวอย่างดังกล่าว เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานโครงการฯ เพื่อเป็นจุดเรียนรู้ด้านการเกษตรและด้านหม่อนไหมแก่เกษตรกรและประชาชน ที่ได้รับผลกระทบ หรือเกษตรกรและประชาชนที่สนใจ  ตลอดจนเป็นแหล่งอาหารและการจ้างงานให้แก่เกษตรกรในพื้นที่โดยได้ ดำเนินงานในพื้นที่โครงการฯ จำนวน 30 แห่ง ในพื้นที่ 17 จังหวัด ซึ่งรับผิดชอบโดย ศมม. จำนวน 7 ศูนย์ และหน่วยส่งเสริมหม่อนไหม จำนวน 1 หน่วย ดำเนินกิจกรรมต่างๆ เช่น สนับสนุนต้นหม่อนพันธุ์ดี (หม่อนใบและหม่อนผล)สำหรับใช้เป็นอาหารสัตว์และการแปรรูปสนับสนุนวัสดุบำรุงต้นหม่อนสาธิตการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากหม่อน (การทำน้ำหม่อนและการทำแยมหม่อน) และจัดทำแปลงสาธิตการปลูกไม้ผลยืนต้น เพื่อเป็นแปลงสาธิตให้ความรู้เรื่องการปลูกหม่อนสร้างอาชีพต่อไป


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

”เด็จพี่ ดร.พร้อมพงศ์ ” ร่วมกับศูนย์ประสานงานภาคประชาชนแจกข้าวสาร 775 ครัวเรือนเพื่อทำบุญสะเดาะเคราะห์ให้อดีตนายกทักษิณ

“รองเกียรติ ร่วม อัยการภูเก็ต ปธ. รุ่น41 “จัดบอลเชื่อมความสามัคคี ณ สนามกีฬาราชมังคลา รามคำแหง

พญาต่อ!!ร่วม Happy Birthday "ใหญ่ คาดเชือก”ธีรยุทธ ผู้พัฒน์" คอลัมน์นิสต์อาวุโส